Lecture



บทที่ 1 ศัพท์เทคนิค






Web Page  คือ เอกสารที่เราเปิดดูใน Web ส่วนใหญ่สร้างจากภาษา HTML
Web Site  คือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บเว็บเพจ เมื่อเราต้องการดูข้อมูลเว็บเพจ เราต้องใช้โปรแกรมเบราเซอร์เป็นเครื่องมือ
Home Page คือ แต่ละเว็บไซต์ จะประกอบด้วยเว็บเพจหลายหน้า แต่ต้องมีการกำหนดไว้ว่า จะไห้หน้าใดเป็นหน้าแรก เว็บเพจ ที่เป็นหน้าแรกนี้ เรียกว่า "Home Page"
Link  คือ เป็นคุณสมบัติที่ทำไห้เว็บเพจมีความแตกต่างจากเอกสารทั่วไป และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำไห้www ประสบความสำเร็จ
Web Browser คือ โปรแกรมที่เป็นประตูสู่wwwในปัจจุบันมีไห้เลือกหลายตัว เช่น InternetExplorer Safari FireFoxเป็นต้น
URL คือ ตำแหน่งเฉพาะเจาะจงที่เราต้องระบุ เมื่อเราต้องการเรียกดูข้อมูล เรียกตำแหน่งนั้นว่า URL
 

 กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์




          การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล คือการพิจารณาว่า เว็บควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น นำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี มีทั้งหมด 5 Phase
        Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ (Research)
1. รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม
2 .เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการ
3. ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง
สิ่งที่ได้รับ
1. เป้าหมายหลักของเว็บ
2. ความต้องการของผู้ใช้
3 .กลยุทธ์ในการแข่งขัน
        Phase 2 : พัฒนาเนื้อหา (Site Content)
4 .สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5 .หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา
สิ่งที่ได้รับ
1. แนวทางการออกแบบเว็บ
2. ขอบเขตเนื้อหาและการใช้งาน
3. ข้อมูลที่ถูกจัดอย่างเป็นระบบ
       Phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)
6. จัดระบบข้อมูล
7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน
สิ่งที่ได้รับ
1. แนวทางการออกแบบเว็บ
2. ขอบเขตเนื้อหาและการใช้งาน
3. ข้อมูลที่ถูกจัดอย่างเป็นระบบ 7
       Phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ (Visual Design)
9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ
10. พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย
สิ่งที่ได้รับ
1. ลักษณะหน้าตาของเว็บ
2. เว็บต้นแบบที่จะใช้ในการพัฒนา
3. รูปแบบโครงสร้างของเว็บ
4. ข้อกำหนดในการพัฒนาเว็บ
        Phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)
11. ลงมือพัฒนาเว็บ
12. เปิดเว็บไซต์
13. ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง
สิ่งที่ได้รับ
1. เว็บที่สมบูรณ์
2. เปิดตัวเว็บและทำให้เป็นที่รู้จัก
3. แนวทางการดูแลและพัฒนาต่อไป
 

 

บทที่ 3  การออกแบบเพื่อผู้ใช้

 
กำหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
           การทำเว็บไซต์จำเป็นต้องรู้กลุ่มผู้ใช้เป้าหมายที่จะเข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์อย่างชัดเจน เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจากเว็บไซต์
1. ข้อมูลและการใช้งานที่เป็นประโยชน์
2. การตอบสนองต่อผ
3. ความบันเทิ
4. ของฟรี
ข้อมูลหลักที่ควรมีอยู่ในเว็บไซต์
1. ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท (About the company)
2. รายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Product information)
3. ข่าวความคืบหน้าและข่าวจากสื่อมวลชน (News/Press releases)
4. คำถามยอดนิยม (Frequently asked questions)
5. ข้อมูลในการติดต่อ (Contact information)

บทที่ 9 การออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์





รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ
 (GIF , JPG และ  PNG)
     GIF  ย่อมาจาก  Graphic  Interchange  Format
          - ได้รับความนิยมในยุคแรก
          - มีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากกว่า 256 สี
          - มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวนอนของพิกเซล   เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น
     JPG  ย่อมาจาก  Joint  Photogtaphic  Experts  Group
          - มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color)  สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
          - ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย (lossy)
          - ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด
     PNG  ย่อมาจาก  Portable  Network  Graphic   สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8บิต 16 บิต และ 24 บิต   มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย (lossless) มีระบบการควบคุมค่าแกมม่า (Gamma)  และความโปร่งใส (Transparency)ในตัวเอง
ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ
     รูปภาพที่ใช้หน่วยวัดขนาดตามหน้าจอมอนิเตอร์   นั่นก็คือหน่วยพิกเซล   ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดของกราฟฟิกหับองค์ประกอบอื่น ๆ ในหน้าเว็บ  รวมถึงขนาดของหน้าต่างเบราเซอร์ด้วย
ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพ
   ระบบความละเอียดของรูปภาพที่แสดงผลบนจอมอนิเตอร์ควรใช้หน่วย pixel per inch (ppi)
  แต่ในทางการใช้งานจะนำหน่วย dot per inch (dpi) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความละเอียดของสิ่งพิมพ์มาใช้งานแทน ppi
   ความละเอียดของรูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ควรมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็เพียงพอแล้ว
โปรแกรมกราฟฟิกสำหรับเว็บ
     ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภททีนำมาใช้ในการสร้างกราฟฟิกสำหรับเว็บ
          - Adobe   PhotoShop
          - Adobe  ImangeReady
          - Firework   
     * ค่าพื้นฐานที่สามารถเลือกปรับได้คือ  รูปแบบไฟล์,  ชุดสีที่ใช้ ,  จำนวนสี,  ระดัความสูญเสีย,  ความโปร่งใส และสีพื้นหลัง
คำแนะนำในกระบวนการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ
     * ออกแบบกราฟฟิกโดยใช้ชุดสีสำหรับเว็บ (Web  Palette)
     * เลือกใช้รูปแบบกราฟฟิกที่เหมาะสม GIF หรือ JPEG
     * ตัดแบ่งกราฟฟิกออกเป็นส่วนย่อย (Slices)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น